สาระสำคัญในระบบผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติ
ระบบการฝึกงานด้านเทคนิคสำหรับชาวต่างชาติคือระบบซึ่งประสงค์ที่จะถ่ายทอด ทักษะ, ฝีมือ, องค์ความรู้ที่ประดิษฐ์ และพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น ต่อประเทศที่กำลังพัฒนา ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน “การสร้างบุคลากร” ซึ่งมีภาระหน้าที่ปฏิบัติให้บ้านเมืองของเขาเจริญในด้านเศษกิจมากขึ้น เมื่อผ่านมา“พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง และการคุ้มครองผู้ลี้ภัย(บทบัญญัติฉบับที่ 319 พศ.2494)” และกฎกระทรวงเป็นหลักเกณฑ์ที่เคยได้บังคับใช้มาก่อน แต่ใน พศ.2559 มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนตามความเห็นชอบของระบบจัดฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติแล้ว และสมควรจะสร้างกฎหมายฉบับใหม่ เช่น พระราชบัญญัติจัดฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติและคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิค และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่าง ๆ
ขอบเขตที่ “พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง และการคุ้มครองผู้ลี้ภัย” บัญญัติมาก่อนนั้นโดยส่วนใหญ่ ต่อไปนี้จะบัญญัติ และบังคับใช้ “พระราชบัญญัติจัดฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างชาติและคุ้มครองผู้ฝึกงานด้านเทคนิค” แทน แต่แนวทางของระบบยังคงเหมือนเดิม และปรัชญาพื้นฐานยังสอดกล้องกับแนวทาง ถูกระบุยังชัดเจนว่า “การฝึกงานด้านเทคนิคนั้น ห้ามมิให้ประสงค์ที่จะใช้เป็นวิธีทดแทนสำหรับการขาดแคลนแรงงาน (ข้อที่ 2 มาตราที่ 3)” และผู้ฝึกงานด้านเทคนิคดังกล่าวนั้นถูกคุ้มครองด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธเทียบเท่าแรงงานคนญี่ปุ่นโดยอนุโลม
ระบบฝึกงานด้านเทคนิคคืออะไร (技能実習制度とは)
ในการรับผู้ฝึกงานด้านเทคนิคมี 2 รูปแบบ ได้แก่ “ประเภท-บริษัทเดียว” และ “ประเภท-การกำกับดูแลของกลุ่ม”
“ประเภท-การกำกับดูแลของกลุ่ม” คือองค์กรรับผู้ฝึกงานเอกชนในประเทศญี่ปุ่น 7 ประเภท ได้แก่ 1.หอการค้าอุตสาหกรรม และสมาคมการค้าอุตสาหกรรม, 2.สมาคมผู้ประกอบการขนาดเล็ก, 3.องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ, 4.องค์กรความร่วมมือทางการเกษตรที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ, 5.Corporate Vocational Training Organization (SHADAN), 6.Corporate Vocational Training Foundation (ZAIDAN) และ 7.สหกรณ์การเกษตร องกรณ์พวกนี้เรียกว่า “องค์กรกำกับดูแล (KANRI DANTAI)” ซึ่งรับผู้ฝึกงานด้านเทคนิคมาจากบริษัทจัดหางานที่ได้จดทะเบียนเป็นองค์กรส่งผู้ฝึกงานจากต่างประเทศ แล้วจะให้บริษัทที่เป็นสมาชิกของตน (= สถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติ) จัดการอบรมจริงที่หน้างานจริง และจัดฝึกงานด้านเทคนิค
อนึ่ง การอนุมัติสำหรับองค์กรกำกับดูแลมี 2 ประเภท ได้แก่
1.กิจการกำกับดูแลเฉพาะ (TOKUTEI KANRI JIGYOU) หมายถึง กิจการที่ทำการกำกับดูแลการฝึกงานสำหรับผู้ดำเนินการฝึกงาน ประเภทกลุ่มองค์กร ซึ่งดำเนินการเฉพาะการฝึกงานด้านเทคนิคประเภทรับโดยกลุ่มองค์กรประเภทที่ 1 หรือ การฝึกงานด้านเทคนิคประเภทรับโดยกลุ่มองค์กรประเภทที่ 2 เท่านั้น
( ระยะเวลาดูแลกำกับได้ 3ปี )
2.กิจการกำกับดูแลทั่วไป (IPPAN KANRI JIGYOU) หมายถึง กิจการที่ทำการกำกับดูแลการฝึกงานสำหรับผู้ดำเนินการฝึกงาน ประเภทกลุ่มองค์กร ซึ่งดำเนินการเฉพาะการฝึกงานด้านเทคนิคประเภทรับโดยกลุ่มองค์กรประเภทที่ 1 ถึง การฝึกงานด้านเทคนิคประเภทรับโดยกลุ่มองค์กรประเภทที่ 3 ได้ทุกประเภท (ระยะเวลาดูแลกำกับได้นานที่สุด 5ปี **อยู่ที่ประเภทอาชีพที่รับ คนละระยะเวลกัน)
〇 รับผู้ฝึกงานด้านเทคนิคชาวต่างประเทศยังไงดี (外国人技能実習生を受け入れるには)
จำนวนผู้ฝึก ฯ ที่สามารถรับได้ในแต่ละปี (ระยะเวลาฝึกงานจริง) ของบริษัทหนึ่ง อยู่ที่จำนวนพนักงานเต็มเวลา
** จำนวนพนักงานเต็มเวลาคือจำนวนพนักงานเต็มเวลาโดยไม่รวมพนักงานระยะสั้นเช่นคนทำงานนอกเวลา
โปรดดูตารางด้านล่าง
จำนวนพนักงานเต็มเวลา(ในบริษัทหนึ่ง) จำนวนผู้ฝึกงานที่รับ(บริษัท, องค์กร ต่าง ๆ)
301 คนขึ้นไป ไม่เกิน 1/20 ของจำนวนพนักงานเต็มเวลา
201 ขึ้นไป น้อยกว่า 300 15 คน
101 ขึ้นไป น้อยกว่า 200 10 คน
51 ขึ้นไป น้อยกว่า 100 6 คน
41 ขึ้นไป น้อยกว่า 50 5 คน
31 ขึ้นไป น้อยกว่า 40 4 คน
น้อยกว่า 30 3 คน
〇 หมายเหตุ : จำนวนของพนักงานเต็มเวลา(= พนักงานประจำ)นั้น ไม่รวมจำนวนผู้ฝึกงานฯ ทั้งหมายเลข 1 และหมายเลข 2
กรณีจำนวนพนักงานเต็มเวลาน้อยกว่า 30 คน จำนวนผู้ฝึกงานฯ หมายเลข 1 ต้องไม่เกินจำนวนพนักงานเต็มเวลา
〇 สาขาช่างที่สามารถยอมรับได้ (ณ เดือน มิถุนายน. พ.ศ.2563) (受け入れできる職種)
(สาขาช่าง / ลักษณะงาน)
3.สาขาก่อสร้าง (建設関係)
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศและห้องเย็น / งานติดตั้งเครื่องปรับอากาศและห้องเย็น
ช่างไม้ / งานไม้ก่อสร้าง
การสร้างโครงไม้ / งานสร้างโครงไม้ก่อสร้าง
นั่งร้าน / งานประกอบนั่งร้าน
การเกลือบกันน้ำ / งานเกลือบกันน้ำ
การใช้การเครื่องจักรในการก่อสร้าง / งานขุดรื้อถอน
6.สาขาเครื่องจักรและโลหะ (機械・金属関係)
การกดโลหะ / งานกดโลหะ
การแปรรูปเหล็ก / งานแปรรูปเหล็กสำหรับทำโครงสร้าง
การแปรรูปแผ่นโลหะ / งานแปรรูปแผ่นเหล็กด้วยเครื่องจักร
การประกอบอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ / งานประกอบอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์
7.สาขาอื่น ๆ (その他)
การหล่อพลาสติก / งานหล่อพลาสติก (แบบอัด)
การทาสี / งานทาสีอาคาร
(สาขาช่าง / ลักษณะงาน)
技能実習詳細についてはこちら
〇 บทบาดหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแล (監理団体の役割)
ขั้นตอนเริ่มต้น ซึ่งรับผู้ฝึกงาน ฯ จากองค์กรผู้ส่ง
ความต้องการของต้องแจ้งต่อองค์กรผู้ส่ง เพื่อองค์กรผู้ส่งคัดบุคลากรที่มีคุณสมบัติจากในกลุ่มนักเรียนที่มีไว้
ติดตามเจ้าหน้าที่สถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติเพื่อไปสัมภาษณ์งานนักเรียนที่องค์กรผู้ส่งคัดไว้
แนะแนวเพื่อทำการวางแผนการฝึกงานด้านเทคนิค
องค์กรกำกับดูแลติดต่อประสานงานกับสถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติ พยายามให้เข้าใจกันในการสร้าง และแนะแนวทำการวางแผนการฝึกงานด้านเทคนิค เพื่อยื่นขออนุมัติของ OTIT
การตรวจคนเข้าเมือง
ทั้งองค์กรกำกับดูแลและองค์กรผู้ส่งช่วยกันทำเอกสาร เช่นคำขอเข้าประเทศของผู้ฝึกงานด้านเทคนิค ฯ ถ้าหากเข้าญี่ปุ่นได้แล้วจะไปรับสนามบินอีกด้วย
การอบรมหลังเข้าญี่ปุ่น
หลังเข้าประเทศญี่ปุ่นแล้วสหกรณ์เราจะจัดการอบรมระยะเวลาเป็น 1 เดือน ที่ห้องอบรม (=KOUSHUU SHITSU) ในอาคารของสหกรณ์เอง
เนื้อความการอบรมนั้นมีทั้งการสอนภาษาญี่ปุ่น, วิธีการซื้อของในห้าง หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสนทนาในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่จำเป็นจริง ๆ
การตรวจสอบสามัญ (ประจำ)
จัดการตรวจสอบตามการวางแผนอย่างน้อย 3 เดือนละ 1 ครั้ง ทั้งในสถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติ และหอพักของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคพักอาศัย
การตรวจสอบวิสามัญ
กรณีองค์กรกำกับดูแลได้พบเห็น หรือรับแจ้งต่าง ๆ ที่เป็นเหตุผลที่สมควรจะยกเลิกการอนุมัติการวางแผนการฝึกงานด้านเทคนิคของสถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติ เช่น ไม่ได้จัดการฝึกงานเทคนิคที่ได้ยื่นขออนุมัติการวางแผนแล้วได้ หรือคุณสมบัติที่ได้การอนุมัติไม่พร้อมแล้ว, สถาบันฝึกอบรมภาคปฏิบัติจ้างคนต่างชาติที่กระทำผิด ซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นการฝ่าฝืนผิด พรบ.คนเข้าเมือง, ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคก่อเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นการฝ่าฝืนผิด พรบ.แรงงานสัมพันธ์ เป็นต้น และอื่น ๆ องค์กรกำกับดูแลต้องจัดการตรวจสอบวิสามัญโดยทันที
ให้คำชี้แนะ
กรณีผู้ฝึกงานด้านเทคนิค (หมายเลข 1) สังกัด ทางองค์กรกำกับดูแลจะจัดการนัดสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบสำหรับระบบการฝึกงานด้านเทคนิค และผู้ฝึกงานเทคนิค
การสมัครทดสอบทักษะเพื่อขึ้นเป็นผู้ฝึกงานด้านเทคนิค (หมายเลข 2)
สำหรับผู้ฝึกงานด้านเทคนิค (หมายเลข 1) ต้องทดสอบทักษะ เข้าญี่ปุ่นครึ่งปีหลัง
หมายเหตุ** หากทดสอบ ฯ ไม่ผ่านจะไม่สามารถขึ้นเป็นผู้ฝึกงานด้านเทคนิค (หมายเลข 2) ได้
การต่ออายุ (เปลี่ยนประเภทสถานภาพการพำนัก)
สิทธิผู้พำนัก หรือ “ไซริวสิคากุ” (ZAIRYU SHIKAKU) ของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคมีระยะเวลา 1 ปี (บางกรณี 6 เดือน) เพราะฉะนั้นต้องต่ออายุบัตรประจำตัวผู้พำนัก หรือ “ไซริวคาร์ด”
จึงทำเอกสาร และยื่นขอ ณ สนง.ตรวจคนเข้าเมือง